แสงแรกปีใหม่! อยู่ที่ "ตากใบ" ไม่ใช่ "โขงเจียม"
สดร.ยืนยันแสงแรกปีใหม่ พระอาทิตย์ขึ้นที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ก่อน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ขึ้นก่อนเพียง 1 นาที ซึ่งถือว่าต่างกันไม่มาก เพราะว่าแกนโลกเอียง
และละติจูดของพื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่า ขณะที่ชาวโซเซียลคึกคักแห่ถ่ายรูปที่เกาะยาว จุดแรก
และละติจูดของพื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่า ขณะที่ชาวโซเซียลคึกคักแห่ถ่ายรูปที่เกาะยาว จุดแรก
วันนี้ (1 ม.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากก่อนหน้านี้ สมาคมดาราศาสตร์ไทย
ระบุว่าเรื่องที่มักเข้าใจผิดในดาราศาสตร์ โดยหนึ่งในประเด็นคือไปรับแสงตะวันแรกของไทยในวันปีใหม่กันที่โขงเจียม จ.อุบลราชธานี แต่ระบุว่า ไม่ใช่ที่นั่น
ระบุว่าเรื่องที่มักเข้าใจผิดในดาราศาสตร์ โดยหนึ่งในประเด็นคือไปรับแสงตะวันแรกของไทยในวันปีใหม่กันที่โขงเจียม จ.อุบลราชธานี แต่ระบุว่า ไม่ใช่ที่นั่น
ข้อมูลระบุว่า แม้ อ.โขงเจียม จะเป็นพื้นที่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นที่นั่นก่อนที่อื่นทุกวัน เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียงแนวรอยต่อเช้า จึงไม่ได้ขนานกับเส้นลองจิจูดเสมอ โดยในฤดูร้อนแนวรอยต่อจะเอียงซ้ายทำให้ทางตอนเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนทางใต้ที่ลองจิจูดเท่ากัน ส่วนฤดูหนาวรอยต่อจะเอียงขวาทำให้ทางตอนใต้จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนทางเหนือที่ลองจิจูดเท่ากัน
วันขึ้นปีใหม่ของทุกปี แนวรอยต่อเช้าเอียงไปทางขวาเป็นมุมประมาณ 23 องศา ซึ่งถือว่าเอียงมากเกือบที่สุดในรอบปี มากจนปลายด้ามขวานของประเทศไทยล้ำไปทางตะวันออกมากกว่า อ.โขงเจียม
ด้วยเหตุนี้ ทุกวันปีใหม่พื้นที่ในประเทศไทยที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นที่แรก จึงไม่ใช่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี แต่เป็นที่บ้านตาบา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส และอำเภอแรกของ จ.อุบลราชธานี ที่ได้รับแสงอาทิตย์ก็ไม่ใช่ อ.โขงเจียม แต่เป็น อ.บุณฑริก
โดยล่าสุด สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ยืนยันว่าเป็นความจริงที่แสงแรกปีใหม่ ดวงอาทิตย์จะขึ้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ก่อน อ.โขงเจียม แต่จะขึ้นก่อนเพียง 1 นาทีเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่างกันไม่มาก เพราะว่าแกนโลกเอียง และละติจูดของพื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่า
โดยเฟซบุ๊ก Navy For Life เคยโพสต์ข้อมูลไว้เมื่อ 1 มกราคม 2018 แสงแรกแห่งปี ณ ประเทศ ไทยไม่ใช่อยู่ที่ผาชะนะได อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี (แผ่นดินตะวันออกสุดของประเทศ) อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ หากแต่อยู่ที่ ตาบา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ปากน้ำโกลก ชายแดนไทยมาเล (แผ่นดินปลายขวานใต้สุดของประเทศ) @กระบี่ดำ#จากแกนโลกเอียงในฤดูหนาว #จากบรรณสารดวงอาทิตย์ขึ้นและตกกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ #จากการคำนวนวัดsextantเดินเรือดาราศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น